ประโยชน์ของการอ่านหนังสือ 2 – ไอเดียและกิจกรรมที่สร้างสรรค์

การอ่านหนังสือให้กับทารกในท้อง

มันไม่เร็วไปหรอกที่เราจะเริ่มอ่านหนังสือให้กับลูกตอนที่เขายังอยู่ในท้อง มหาวิทยาลัยฟลอริดา (The University of Florida) ได้มีการสำรวจว่าควรอ่านหนังสือให้กับทารกในช่วงระหว่างอาทิตย์ที่ 28 และ 34 ของการทั้งครรภ์เพื่อให้ทารกได้คุ้นเคยกับจังหวะการเลี้ยงดู การสำรวจได้แนะนำว่าเด็กๆ จะมีการรับรู้ได้เร็วด้วยการถูกปลูกฝังตั้งแต่ในท้อง
มีหลายวิธีแตกต่างกันไปที่เราสามารถกระตุ้นส่งเสริมลูกขณะที่เขายังอยู่ในท้อง
– เสียงเพลง การเปิดเพลงคลาสสิกให้ลูกฟัง
– การอ่าน เล่านิทานหรือบอกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน
– การร้องเพลงกล่อมเด็ก ควรจะเป็นเพลงง่ายๆ หรือเพลงสำหรับลูกน้อย
– การพูดคุยกับลูกในท้อง หรือให้เขาได้ยินเสียงคนอื่นด้วย เช่น คุณน้า คุณลุง เสียงของพ่อแม่

การอ่านหนังสือกับลูกน้อย

สถาบันกุมารศาสตร์แห่งอเมริกา (The American Academy of Pediatrics) ได้กล่าวว่าการอ่านเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งเกี่ยวกับพัฒนาการของลูก เพราะการอ่านจะช่วยกระตุ้นจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และยังช่วยพัฒนาความสามารถในการสื่อสารอีกด้วย
– เด็กๆชอบกิจวัตรประจำวัน ฉะนั้นการจัดเวลาให้ลูกได้อ่านหนังสือจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น กิจกรรมนี้จะเป็นรากฐานที่ดีมากที่ลูกๆจะสนุกกับการอ่านหนังสือตั้งแต่เด็ก
– เด็กๆไม่สามารถเข้าใจทุกๆ อย่างที่เราพูด แต่สำหรับการอ่านหนังสือไปด้วยกันจะช่วยให้เขาหัดสังเกตหนังสือและจำเริ่มจำคำศัพท์อีกละนิดๆของแต่ละวันได้
– เลือกหนังสือที่เป็นสีสว่าง และภาพประกอบที่เข้าใจง่าย และไม่เหมาะยิ่งสำหรับการเลือกหนังสือที่มีเนื้อหาเยอะจนเกินไป ปล่อยให้เขาได้ใช้ความคิดที่สร้างสรรค์ของเขา ในขณะที่พ่อแม่อ่านหนังสือก็ควรจะชี้รูปภาพตามให้ลูกน้อย และเปลี่ยนเสียงพูดให้เข้ากับเนื้อหาและตัวละคน แต่ต้องอย่าลืมเว้นขณะให้ลูกน้อยได้คิดตามด้วย อีกอย่างการอ่านที่ส่งเสริมให้ลูกน้อยให้มีการโต้ตอบจะสามารถพัฒนาเขาในเรื่องการรับรู้อีกด้วย
– ร้องเพลงกล่อมเด็กหรือจังหวะการเต้น ก็เป็นอีกหนึ่งวิธี ที่จะสามารถส่งเสริมลูกน้อยในเรื่องความคิดและจินตนาการที่สร้างสรรค์ แต่อย่าลืมว่าการร้องเพลงกล่อมเด็กนั้นเราจะต้องร้องอย่างมีพลัง ยิ้มแย้มแจ่มใส เพราะเด็กจะสามารถตอบสนองภาษากายของเรา
– การใช้ของเล่นเด็กประกอบในการแต่งเรื่อง เพื่อให้ลูกน้อยได้คุ้นเคยกับสิ่งเหล่านั้นและสามารถใช้ความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นดำเนินเรื่องไปได้ต่อไปเมื่อเราหยุดอ่าน

การอ่านหนังสือกับลูกๆ

ในระหว่างช่วงอายุ 2 ถึง 3 ขวบ เด็กๆ จะมีการพัฒนาในเรื่องของการใช้ภาษาและความสามารถในเรื่องการเรียนรู้คำศัพท์ดีที่สุด Barbara Zurer Pearson นักเรียนหนังสือเรื่อง “Raising a bilingual child” เด็กๆจะสามารถเรียนรู้และแยกแยะส่วนต่างๆในเรื่องของภาษาได้เป็นอย่างดี สำหรับวัยนี้การที่พ่อแม่และลูกๆ ได้อ่านหนังสือด้วยกันก็จะยิ่งดีขึ้นไปอีก เพราะเด็กๆ จะมีการตอบสนองได้ดี เกมการอ่านออกเสียงและสะกดคำก็มีให้เลือกเล่นเยอะเยอะเลยครับ เข้ามาเยี่ยมชมกันได้ที่แฟนเพจเฟสบุคของทางโรงเรียนเรา หรือ เกมโฟนิคส์ ในบล็อกของเราก็ได้ มีหลายกิจกรรมให้คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลายได้เลือกไปเล่นกับลูกๆ
– เลือกหนังสือทีมีการพูดซ้ำๆ เด็กๆอยากที่จะรู้ว่าอะไรกำลังจะเกิดขึ้น พวกเขาชอบให้พูดซ้ำๆในประโยคที่เขาคุ้นเคย
– การแสดงบทบาทสมมุติ เมื่อเราได้อ่านนิทานจบแล้วก็ก็สามารถที่จะแสดงบทบาทสมมุติร่วมด้วย สร้างปราสาทจากผ้าปูที่นอน หรือสร้างบ้านจากไม้ไอศกรีม ที่ทำให้ลูกๆ เหมือนได้เข้าไปอยู่ในเรื่องราวจริงๆ
– ให้ลูกได้วาดตัวละครตัวโปรดของเขาจากนิทาน อาจจะมีการพูดถึงตัวละครในเรื่อง รูปร่างหน้าตา หรืออาจให้ลูกเพิ่มตัวละครไปในเรื่องก็เป็นอีกไอเดียหนึ่งที่ช่วยพัฒนาเขาในการสร้างสรรค์
– การซักถาม ให้ลูกน้อยได้อ่านและทำความเข้าใจกับเรื่องราวและจากนั้นก็เราสัมภาษณ์ลูกๆ เกี่ยวกับตัวละครตัวโปรดของเขา บทบาทของตัวละคร จากนั้นก็ให้เด็กถามเราเหมือนกัน
– แต่งเรื่องราวดัวยกัน แต่งนิทานด้วยกันเป็นอะไรที่น่าสนุกเหมือนกันนะ สามารถให้ลุกๆ ได้เขียนกรรยายหรือคิดค้นตัวละครขึ้นมาประกอบเรื่องราว
– ทำรูปภาพประกอบตัวละคร การหาภาพมาประกอบและให้ลูกบรรยายหรือสร้างสรรค์เรื่องราวที่เกิดขึ้นตามภาพจะช่วยให้เขาพัฒนาในเรื่องการความรู้สึกและพัฒนาแนวความคิดของลูกๆ
– การหาหนังสือด้วยกัน หนึ่งในกิจกรรมที่สำคัญที่หลายคนมองเข้าไป คือการหาหนังสือด้วยกันเพราะเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกๆ
– คำใบ้ เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สนุกและสามารถทำให้เด็กได้สนุกสนานไปกับการอ่าน เขียนโน้ตไว้ให้เขาและปล่อยให้เขาได้เล่นอยู่ในบ้านและให้รางวัลเป็นคุกกี้สักชิ้น
– ล่าขุมทรัพย์ เด็กๆชอบการไล่ล่าขุมทรัพย์ แต่งตัวแบบโจรสลัดสักวันหนึ่งและเล่นการหาขุมทรัพย์ด้วยกันก็เป็นกิจกรรมที่เด็กชอบมากเลยทีเดียว
– บทบาทสมมุติ เล่นสวมบทบาทอื่นกับลูกๆเพื่อเพิ่มความสนุกสนาน เพราะกิจกรรมแบบนี้ก็สามารถพัฒนาเขาในเรื่องการแต่งเรื่องราวด้วย
– การอ่านหนังสือด้วยกัน เมื่อลูกๆ สามารถที่จะอ่านหนังสือได้แล้ว แต่ก็ไม่ง่ายที่จะให้เขาอ่านทั้งเล่ม วิธีที่จะทำให้เขาอ่านได้เยอะขึ้นคือ เราทำอ่านสักหนึ่งบรรทัดและทำเป็นเหนื่อย ต้องการความช่วยเหลือจากลูก ให้ลูกมาอ่านให้ฟังต่อ นี่ก็จะเป็นหนึ่งในวิธีที่ได้ผล
ที่สำคัญที่สุดในการอ่านหนังสือร่วมกันคือเราต้องใช้วิธีที่ทำให้ลูกของเรามีความสุขที่สุด ไม่ใช่ทุกๆวิธีที่กล่าวไว้จะได้ผลกับเด็กทุกคน พยายามมองหาไอเดียการอ่านหนังสือร่วมกันที่ทั้งพ่อแม่และลูกสนุกไปกับมัน
ข้อมูลดีๆ มีอีกมากมายเกี่ยวกับประโยชน์ของการอ่านหนังสือ คลิ๊กเข้ามาดูกันได้ที่นี้เลยครับ…ประโยชน์ของการอ่านหนังสือกับลูกๆ