ไขมัน 0%
เราทุกคนอาจจะมีการสะกดคำผิดได้แต่ในประเทศไทยดูเหมือนจะไม่ได้ตรวจสอบคำสะกดของคำภาษาอังกฤษก่อนที่ทำการโฆษณาที่มีราคาแพง ซึ่งผมได้เห็นโฆษณาของโรงเรียนแห่งหนึ่ง “เด็กมาจากไหนก่อน” และมีแบรนเนอร์ทั่วรามคำแหงและสนามกีฬาแห่งชาติของวันที่ 23 มีนาคม และหนึ่งในความผิดพลาดและทำให้เกิดความเข้าใจผิดที่พบบ่อยที่สุดคือผลิตภัณฑ์ที่เขียน bath ที่แปลว่าอาบน้ำ แทนที่คำว่า baht ที่หมายถึงสกุลเงินบาท นั่นทำให้หมายถึงคุณเอาน้ำสบู่มาจ่ายเงินนะ ดังนั้นควรจะต้องตรวจสอบให้ดีก่อนที่จะทำการโฆษณา
หนึ่งในความเข้าใจผิดที่เราพบได้ใน 7-11 นั่นก็คือนมและโยเกิร์ตที่ติดฉลากว่ามีไขมัน 0% ซึ่งเป็นการทำการตลาดที่ฉลาดมากที่สุดและเป็นวิธีที่ซ่อนความเป็นจริงที่ว่ามันเป็นไขมันจริง 100% เราได้กล่าวของอันตรายของน้ำตาล หรือ ฟรุกโตส ในบทความก่อนหน้านี้มาก่อนแล้วและเป็นวิธีที่ฉลาดในการประชาสัมพันธ์ที่ไม่จำเป็นต้องบอกว่าผลิตภัณฑ์ของเขาไม่ดีต่อสุขภาพนั่นเอง
ไขมัน 0% ≠ ดีต่อสุขภาพ
ในความเป็นจริงค่อนข้างตรงกันข้ามกันเลยซึ่งไขมันส่วนใหญ่ไม่ได้ฆ่าเราเพราะเรายังต้องการไขมันตัวที่ดีต่อสุขภาพแต่ตัวที่ร้ายที่สุดคือ น้ำตาล และหากคุณได้อ่านฉลากของผลิตภัณฑ์พวกไม่มีไขมันหรือไขมันต่ำสักนิดคุณจะเห็นเลยว่าผลิตภัณฑ์พวกนี้มีระดับน้ำตาลค่อนข้างสูงหรือบางผลิตภัณฑ์มีระดับน้ำตาลเป็นสองเท่าของไขมันเลยทีเดียว ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าให้หลีกเลี่ยงนมและโยเกิร์ตนะ โดยทั่วไปแล้วผลิตภัณฑ์จำพวกนมมักจะมีน้ำตาลที่ได้จากธรรมชาติค่อนข้างสูงอยู่แล้วและมีสารอาหารสำคัญด้วยเช่นกันแต่ผู้ผลิตมักจะเพิ่มน้ำตาลเข้าไปด้วยเพื่อง่ายต่อการบริโภคและขาย ดังนั้นคุณควรจะต้องดูฉลากก่อนและไม่ควรละเลยคำว่า ไม่มีไขมันหรือปราศจากไขมัน ด้วยล่ะ ในส่วนของโยเกิร์ตที่มีน้ำตาลน้อยจะเป็นตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพนะ ซึ่งจริงๆโยเกิร์ตรสธรรมชาติมันจะเป็นตัสเลือกที่ดีแต่คุณจะต้องแน่ใจว่าส่วนประกอบที่ได้มามาจากแหล่งที่มีคุณภาพที่ดี และโยเกิร์ตรสธรรมชาติอาจจะมีแนวโน้มที่จะมาแทนที่ผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง แล้วผลิตภัณฑ์ที่เป็นไขมันต่ำหรือน้ำตาลน้อยคืออะไร จริงๆแล้วผลิตภัณฑ์พวกนี้มันจะแย่กว่าผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากไขมันนะ ซึ่งลดไขมัน น้ำตาล และเกลือก็ไม่ได้หมายความว่าส่วนประกอบพวกนี้จะมีระดับต่ำเสมอไปนะ อาทิเช่น นมถั่วเหลืองขวดสีฟ้าใน 7-11 ที่เป็นสูตรที่มีน้ำตาล จะพบระดับน้ำตาลถึง 30 กรัม ในขณะที่ขวดสีน้ำตาลที่เป็นสูตรน้ำตาลน้อยก็พบระดับน้ำตาลมากถึง 15 กรัม ดังนั้นควรอ่านฉลากก่อนที่จะตัดสินใจซื้อนะ
ในบทความนี้เราอยากจะเน้นให้คุณรู้จักการดูฉลากผลิตภัณฑ์ต่างๆและอย่าไปหลงเชื่อคำโฆษณา คนอังกฤษส่วนใหญ่มักจะตระหนักกับสิ่งเหล่านี้และมีกฎหมายบังคับใช้ทางโภชนาการที่จะต้องระบุบนบรรจุภัณฑ์และบริษัทผู้ผลิตก็จะต้องจะทำสติกเกอร์สำหรับข้อมูลทั้งหมด ซึ่งอาจได้พบเห็นในบางผลิตภัณฑ์ในประเทศไทย สำหรับผู้ที่ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้และไม่รู้ว่าควรจะต้องดูระดับน้ำตาลจากตรงไหน คุณควรสังเกตคำว่า “น้ำตาล” หรือ “ฟรุกโตส”