เรื่องที่คุณควรรู้เกี่ยวกับการเดินเขย่งของเด็ก

จากงานวิจัยเมื่อปี 2012 มากกว่าครึ่งของเด็กที่มีพฤติกรรมการเดินเขย่ง จะหยุดเดินเขย่งไปเองโดยธรรมชาติเมื่อเขาอายุย่างเข้า 5 ขวบ การเดินเขย่งไม่จะส่งผลกระทบใดๆต่อการพัฒนาการหรือระบบประสาทแต่อย่างใด

การเดินเขย่งสามารถเกี่ยวข้องกับ สมองพิการ หรือ กล้ามเนื้อเสื่อม กรณีในเด็กที่ไม่ได้มีปัญหาเหล่านี้ เด็กๆเหล่านี้จะถูกจัดอยู่ในกรณีการเดินเขย่งแบบไม่ทราบสาเหตุ

**สาเหตุของการเดินเขย่งยังไม่เป็นที่ค้นพบอย่างแน่ชัด

นักวิจัยชาวสวีเดนได้บอกว่า เด็กๆจะหยุดเดินเขย่งไปเองเมื่อพวกเขาโตขึ้น

งานวิจัย

งานวิจัยได้มีผู้ปกครองเข้ามาร่วมมากกว่า 1,400 คน มีการจัดงานวิจัยในเมือง Blekinge Country ในตอนใต้ของประเทศสวีเดน ซึ่งได้มีการตรวจเช็คประจำวันของเด็กอายุ 5.5 ปี จะมีการสอบถามจากพ่อแม่ทีเข้าร่วมเกี่ยวกับการเดินเขย่งของลูก ผลสรุปจากงานวิจัยมีดังนี้

  • ระยะหนึ่งของเด็ก เกือบ 5 % จะมีพฤติกรรมการเดินเขย่ง เมื่อเขาย่างเข้าสู่วัย 5 ขวบถึง 5 ขวบครึ่ง อาจจะมีบางคนเดินเขย่งอยู่
  • การเดินเขย่งจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กเริ่มเดินด้วยตัวเองได้คล่องแคล่ว เด็กบางคนเริ่มเดินเขย่งในปีแรกของการเดินของเขา
  • ระยะเวลาการเดินเขย่งของเด็กทั่วไปคือ 1-2 ปีก่อนเขาจะเดินปกติ
  • เมื่อเด็กอายุครบ 5ขวบ หรือ 5 ขวบครึ่งแล้ว บางคนอาจจะยังติดเดินเขย่งอยู่ แต่ไม่นานก็จะเดินปกติได้ แต่สำหรับเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับความจำหรือระบบประสาท เช่น ออทิสซึม (Autism) มักจะมีพฤติกรรมการเดินเขย่งอย่างต่อเนื่อง

Family walking with child

สิ่งที่พ่อแม่ควรรู้

สิ่งที่สำคัญที่พ่อแม่ควรรู้ คือ “การเดินเขย่งในเด็กทั่วไปไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาอย่างร้ายแรง” กุมารแพทย์ประสาทวิทยา Jonathan Strober ที่ โรงพยาบาทเด็ก UCSF Benioff in San Francisco กล่าว เพราะไม่ใช้เด็กทุกคนที่มีพฤติกรรมการเดินเขย่งจะมีแนวโน้มเป็นออทิสซึม

เด็กๆ ที่มีพฤติกรรมการเดินเขย่งจะมีพัฒนาการในการเรียนรู้เป็นไปอย่างปกติ ฉะนั้นสิ่งที่พ่อแม่ต้องทำคือ การคอยสังเกตลูก

สำหรับเด็กที่เดินเขย่งเป็นเวลาที่นานเกิน อาจจะก่อให้เกิดอาการเมื่อยล้า ตึง และอาการปวดบริเวณเอ็นร้อยหวาย ซึ่งสามารถคลายเส้นได้ด้วยออกกำลังกายยึดหยุ่น

ผู้ปกครองสามารถช่วยลูกทำกิจกรรมยืดหยุ่นร่างกายขณะอ่านหนังสือหรือดูทีวี ซึ่งสามารถช่วยเอ็นร้อยหวายให้โค้งงอได้ง่ายและยึดหยุ่นมากขึ้น

การบำบัดสำหรับการเดินเขย่งไม่ได้จำเป็นมากนักสำหรับเด็กที่อายุ 6 ขวบหรือน้อยกว่า นอกเสียจากว่าอาการของเด็กทำให้เอ็นร้อยหวายหดหรือกล้ามเนื้อน่อง ซึ่งอาจจะต้องพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงและอาจจะมีการทำการผ่าตัด แต่ก็มีการบำบัดหลายแบบ พิจารณาจากอาการหนัก เบาของเด็ก

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: WebMD 

Visit us for more articles: www.beyc.co.th