เมื่อลูกๆถึงเวลาต้องเขียนหนังสือ พ่อแม่ควรเตรียมตัวอย่างไรบ้าง ?
เคล็ดที่ไม่ลับอีกต่อไปในการสอนหนังสือลูกๆ เพื่อประสิทธิภาพสูงสุด
การเขียนก็เหมือนกับการอ่าน เป็นสิ่งที่สำคัญพอกันๆกัน แต่คุณพ่อคุณแม่จงอย่าลืมว่า เวลาสอนให้เด็กๆเขียน เด็กทั้งหลายไม่ควรได้รับความรู้สึกด้านลบเกี่ยวกับการเขียนเลย
ในการสอนน้องๆให้เขียนหนังสือ เราควรจะเพิ่มความยากทีละนิดให้น้องๆคิดตามด้วยเสมอ แต่ที่แน่นอนคือน้องๆจะต้องสนุกกับมันด้วย และสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งคือสำหรับพ่อแม่ในการสอนลูกๆ เขียนหนังสือ คือ การที่เรารู้ขีดจำกัดของลูกๆ นั้นเอง ซึ่งจะเป็นกุญแจหลักในการเลี้ยงลูกที่เราสามารถที่จะออกแบบการสอน และเข้าใจการเรียนรู้ของลูกๆ ของเรานั้นเอง ไม่ว่าจะเป็น ความสามารถในการเขียนและการอ่านของลูก ความรู้ความเข้าใจทางด้านคณิตศาสตร์ ภาษาและพละศึกษานั้นเอง
การฝึกหัดให้ลูกเขียนหนังสือเป็นสิ่งที่ดีมากแต่การฝึกหัดที่เยอะเกินไปก็ใช่ว่าจะดีเสมอไป ควรสอนแต่พอประมาณไม่หักโหมจนเกินไป เพราะการที่เราเข้มงวดกับเด็กจนมากเกินไปจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้ช้า และไม่สนุกกับการเรียนรู้ด้วย
การที่เราออกแบบการสอนเรื่องการเขียนให้น้องๆที่สนุกสนานและน่าตื่นเต้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน โดยเฉพาะน้องๆที่เพิ่งหัดเดิน การสอนให้เขียนหนังสือค่อนข่างจะจำเป็นต่อเขามาก ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาการจับดินสอของพวกเขา เราควรจะเริ่มสอนเขาช่วงนี้แหละค่ะ อะไรจะโชคดีไปกว่านี้แล้วค่ะ ที่ยุคนี้ของเรามีทั้งเฟสบุ๊ค (Facebook) พินเทอเรสท์ (Pinterest ) ให้คุณแม่ทั้งหลายได้หาไอเดียเก๋ๆ เยอะแยะ มาปรับสอนกับลูกๆ กัน
ส่วนตัวครูเอง เมื่อนึกถึงความสามารถในการเขียนแล้วเนี่ย เราจะนึกถึงสิ่งสำคัญ 2 ข้อหลักๆ เลยคือ ความสามารถในการจับดินสอของน้องๆ รวมไปถึงการควบคุมให้เขียนออกมาเป็นคำๆ (การสะกดคำ) และสามารถในการเขียนที่ถูกหลักไวยกรณ์ (โครงสร้างของประโยค)
ในบล็อกนี้เราจะเน้นทักษะทางกายภาพและจะหารือเกี่ยวกับวิธีที่เราสามารถช่วยพัฒนาทักษะความเคลื่อนไหวที่โรงเรียนของเรา (BEYC) จะออกแบบกิจกรรม โดยจะมี 1-3 ลำดับ โดยทั่วไปจะเกี่ยวกับการฝึกใช้ดินสอ และ ดินสอสีที่พวกเขาควรจะมีการปรับใช้อย่างต่อเนื่อง
การพัฒนาความสามารถในการเคลื่อนไหว
- กิจกรรมที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหว
เมื่อเด็กช่วงหัดเดิน (Toddlers) สามารถที่จะควบคุมหรือจัดการกับประสาทนิ้ว ซึ่งสามารถเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อนั้นสามารถพิจารณาเป็นการหัดเขียนขั้นตอนแรกได้เลย อุปกรณ์สนับสนุนต่างๆ ที่จะช่วยในการเสริมสร้างทักษะของเด็กอนุบาลก็จะเป็นดินน้ำมัน ดินเหนียว การร้อยลูกปัด หรือรวมไปถึงตัวต่อ ซึ่งจะเป็นทางเลือกดีในการเสริมสร้างและในการช่วยเหลือพัฒนามือเล็ก ๆของน้องหนู เพื่อเตรียมสู้ความพร้อมสำหรับการจับดินสอ
นี่ก็จะเป็นเคล็ดลับดีๆ ที่คุณครูอนุบาลของเราใช้ประกอบการเรียนการสอนในห้องเรียน ทั้งนี้คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ที่สอนใจสามารถเอาไปใช้สอน หรือ เล่น กับลูกๆ หลานๆที่บ้านได้ด้วย โดยใช้อุปกรณ์ดังนี้
1. กระดุม / ไม้ไอศกรีม (Lolly Stick)
2. ตะเกียบ (Chopsticks)
3. ไม้หนีบผ้า (Clothes Peg Games)
4. ตัด/แปะ (Cutting and Sticking)
5. เกมส์การชั่งน้ำหนัก (Marble Balancing)
6. การร้อยลูกปัด (Bead threading)
7. ปืนฉีดน้ำ (Water Syringing/Squeezy Water Toys)
8. ดินน้ำมัน (Playdough)
9. สลักและน็อต ( Nuts and Bolts)
10. แหนบ (Tweezers)
การให้เด็กๆ ขีดเขียน
การที่เราให้เด็กๆสนุกสนานไปกับการขีดเขียนของพวกเขาไม่ว่าจะบนกระดานดำ หรือ ไวท์บอร์ด ต่างก็เป็นวิธีที่จะช่วยพัฒนาและเสริมสร้างความสามารถในการเขียนของเด็กๆ เพราะหัวใจหลักของการให้เด็กขีดเขียน คือ การที่พวกเขาได้สนุกสนานกับมัน เด็กต้องมีความสุขกับการจับดินสอหรือปากกาเพื่อจะขีดเขียนหรือวาดรูป นั้นจะทำให้พวกเขาอยากที่จะได้จับดินสอปากกามาใช้ เพราะแค่นี้เราก็ได้ก้าวข้ามมาอีกก้าวนึงแล้วในการพัฒนาและส่งเสริมความเคลื่อนในของลูกๆ
- การให้ระบายสีและวาดภาพ
เราคิดว่านี้คือวิธีที่ดีทีสุดที่พ่อแม่ หรือผู้ที่สนใจสามารถที่จะสอดแทรกและบอกวิธีการจับดินสออย่างถูกต้องแก่ลูกๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีและช่วยลูกในการพัฒนาตัวเองด้วยการเล่นอีกด้วย แต่จงอย่าลืมว่า การที่เราย้ำคิดย้ำทำลูกๆ หรือจับผิดเขามากเกินไป จะทำให้พวกเขาไม่สนุกกับกิจกรรมของเขาอีกต่อไป พ่อแม่หรือผู้ที่สนใจทั้งหลายไม่ควรลืมว่าเรายังคงกิจกรรมอยู่ คือ ให้เด็กได้เล่น และสนุกกับมันให้มากที่สุด
จะเห็นได้ชัดเลยว่ากิจกรรมการระบายสี ทางโรงเรียนมักจะให้เด็กระบายสีกันเยอะแยะมากมาย มันช่างเป็นเรื่องที่น่าเศร้านัก ส่วนมากแล้วมักจะมาจากครูผู้สอนจอมขี้เกียจ เด็กส่วนมากมีความสามารถที่จะทำสิ่งต่างๆที่สร้างสรรค์มากกว่าการระบายสี แต่ถ้าจะให้ดี เมื่อเด็กๆต้องการจะระบายสี พ่อแม่ซึ่งก็ไม่ได้ทำกิจกรรมนี้มานานแล้ว ก็ลองไปช่วยลูกระบาย มันก็สามารถเป็นกิจกรรมที่ดีอย่างหนึ่งได้ที่พ่อแม่ได้มีส่วนร่วมในความสนุกสนานของลูกๆ และยังมีโอกาสเป็นตัวอย่างที่ดีในการจับดินสออีกด้วย
- การเขียนตามเส้นประ
ทั้งนี้ทั้งนั้นการเขียนตามเส้นประไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นตัวหนังสือหรือตัวเลขเสมอไป ในช่วงของวัยนี้การที่เราให้เด็กๆได้คุ่นเคยกับการจับและการใช้ดินสออย่างถูกวิธีเหมือนจะเป็นสิ่งที่สุด อีกอย่างมันจะเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะสามารถเรียนรู้การเขียนได้เองโดยอัตโนมัติ เราจึงได้จัดหากิจกรรมหลากหลายในการฝึกสอนเด็กๆ และส่งเสริมความคล่องแคล่วให้กับเด็กๆ คุณพ่อคุณแม่หรือผู้ที่สนใจสามารถเข้ามาดาวน์โหลดได้จากเว็บไซค์ของเราและค้นหาว่า “Write From The Start” สำหรับหน้าต่างนี้ก็จะมีกิจกรรมไว้หลากหลายไม่ว่าจะเกี่ยวกับการเขียนตามเส้นประ และการอ่านออกเสียง ไม่ว่าจะสำหรับน้องๆ ที่เขียนเองได้แล้ว และน้องๆ ที่เริ่มหัดเขียน
- โครงสร้างของตัวอักษร
ส่วนตัวของครูแล้ว การสอนโครงสร้างของตัวอักษรไม่ว่าจะเป็นตัวหนังสือหรือตัวเลขเองนั้น ควรจะเป็นการสอนในรูปแบบเดียวกัน ส่วนมากแล้วเด็กๆ มักจะเกิดการสับสนเกี่ยวกับโครงสร้างเพราะทางโรงเรียนและทางบ้านอาจจะสอนไม่เหมือนกัน ในความเป็นจริงแล้ว พ่อแม่และอาจารย์ผู้สอนควรจะปรึกษาหารือกันถึงวิธีการสอนลูกๆ นักเรียนเพื่อให้เป็นไปในรูปแบบเดียวกัน หาน้อยนักที่จะมีการพบปะพูดคุยกันเรื่องนี้ พ่อแม่หรืออาจารย์ผู้สอนคนไหนเคยลองทำอย่างนี้จะรู้ว่าการเขียนในแผ่นงาน การสอนออกเสียง แอบพลิเคชั่นเกี่ยวกับการศึกษา เว็บไซค์ออนไลน์ต่างๆ รวมไปถึงวิดีโอจากยูทูบ
พ่อแม่ส่วนมากแล้วจะไม่สอนในแบบที่พวกเขาเรียนมา ผมยังจำได้เลยว่ามีรายการทีวีรายการหนึ่งชื่อว่า Sesame Street เป็นการ์ตูนที่สอนการเขียนหนังสือด้วยดินสออนิเมชั่น แต่สำหรับเด็กๆในยุคปัจจุบันนี้ ผมกล้ารับประกันได้เลยว่าเคล็ดลับดีๆในการเขียนสามารถหาดูกันได้ง่ายๆแล้ว ไม่ว่าจะเป็นในไอแพด เครื่องมือเทคโนโลยีต่างๆ
ในห้องเรียนอนุบาลของเราช่างโชคดีอะไรอย่างนี้ที่เรามีกระดานโต้ตอบอันชาญฉลาดและการทำงานของระบบซอร์ฟแวร์ที่น่าทึ่งกันเลยทีเดียวครับ จะมีทั้งวิดีโอเกี่ยวกับการเขียนหนังสือ การออกเสียง และโอกาสของนักเรียนเองที่จะได้มากหัดเขียนด้วยปากกาชนิดต่างๆ ที่ล้วนมีสีสันที่หน้าตื่นตาตื่นใจ นี่ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีการสอนที่มีประสิทธิภาพสำหรับยุคนี้ ถ้าเป็นผม ผมก็คงชอบเอามากๆ เลยทีเดียว อีกทางเลือกหนึ่งที่ผมจะชอบสอนพวกเขาคือเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวหนังสือ คือ การลอกลายตัวหนังสือ เราจะประดิษฐ์จากพลาสติกที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ที่สนใจก็สามารถนำไปสอนและเรียนรู้กับลูกๆ ได้
เคล็ดลับวิธีที่จะสอนลูกๆ เขียนหนังสือและประสบความสำเร็จก็ง่ายนิดเดียวครับคือ การให้เขาเขียนซ้ำๆ พ่อแม่ก็ควรเริ่มจากการฝึกลูกๆ ตั้งแต่ 2-3 นาที ไม่ควรจะเข็มงวดกวดขันจนเกินความจำเป็น อาจจะเริ่มจากการหัดเขียนตัวเลขหรือตัวอักษร และเริ่มสอนหรือจับตาดูวิธีการจับดินสอของลูกๆ เพื่อให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เพราะการที่พ่อแม่ฝึกให้เขาหัดเขียนซ้ำๆ จะช่วยทำให้เขาสามารถจดจำได้ดี
การพัฒนาความสามารถในการแยกเสียงและสะกดคำ
จะเห็นได้ว่าส่วนมากเราจะมีการพูดถึงพัฒนาการในการเขียนของน้องทางด้านกายภาพซะส่วนใหญ่ ในการพัฒนาความสามารถทางด้านการสะกดคำของนักเรียน ระยะ ที่ 5 ส่วนใหญ่แล้วจะขึ้นอยู่กลับหลักสูตรของโรงเรียน เด็กๆจะเรียนหลักสูตรการออกเสียงและการหลบเสียง (การอ่าน) และการแยกเสียง (สะกด)
ระยะในการออกเสียง 2,3,4,5 :
- การเขียนตามเสียงที่ได้ยิน
นี่ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งที่เราควรให้ความสนใจเกี่ยวกับโครงสร้างของตัวอักษร ในแต่ละภาษาเมื่อเราถูกสอนและปฏิบัติตามกันมา เด็กๆ ก็จะจำตามเสียงที่พวกเขาได้ยิน (การจำจากเสียงที่ได้ยิน) นั้นหมายความว่าเด็กจะสามารถเขียนตามจากสิ่งที่เขาได้ยิน
สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการเขียนตามเสียงที่ได้ยินคือจุดประสงค์ของการเรียนในแต่ละระยะ เด็กๆ จะเริ่มฝึกความสามารถในการควบคุมการเคลื่อนไหว แต่ถ้าเด็กยังไม่พร้อมที่จะเขียนกับดินสอ หรือปากกาเมจิก นั้นคือสัญญาณบอกว่าลูกของคุณไม่สนใจในเรื่องการเขียน แต่ก็มีวิธีในการจัดการและพัฒนาปลายนิ้วของเด็กโดยไม่ให้เขาเขียนอะไรเลย แต่อาจจะหัดให้เขาคุ้นเคยกับสิ่งเหล่านี้อย่างนี้ ตัวหนังสือแม่เหล็ก (Magnetic Letters)/ การเขียนเล่นบนพื้นทราย (Sand Tray)/ ตัวต่อ (Phonics Multilink Cubes) หรืออาจจะเป็น แอพลิเคชั่นบนสื่อเทคโนโลยีต่างที่สามารถช่วยเหลือลูกในการเรียนรู้
- การแยกเสียงของคำ (สะกดคำ)
ในการสอนเรื่องการสะกดคำ จะมีระบบการสอน 2 แบบ โปรแกรมการผันคำ เมื่อเราทดสอบให้เด็กๆ สะกดคำศัพท์
นั้นหมายความว่าเด็กเริ่มที่จะได้เรียนรู้เรื่องเสียงที่เขาได้ยินแล้ว การที่เราให้เด็กหัดสะกดคำที่เขายังไม่เคยเรียนหรือได้ยินมาเป็นวิธีหนึ่งที่ดีสำหรับพวกเขา โดยเราจะเริ่มใช้คำที่ไม่มีความหมาย หรือคิดคำขึ้นมาเอง เพราะจะทำเขาได้ฝึกหัดการสะกดที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
หลายๆ โรงเรียนยังคงสอนแบบระบบการท่องจำในการสอนเรื่องคำศัพท์กับนักเรียน แต่เราเลือกที่จะสอนแบบการเลือกใช้คำลวง อาศัยความจำของนักเรียนจากคำที่เคยเรียนมา วิธีนี้จะทำให้เด็กๆ เรียนรู้ได้เร็วกว่า
หนึ่งในวิธีการสอนที่ดีที่สุดที่อาจารย์ของเราใช้พัฒนาความสามารถของนักเรียนทีนี่คือ การสอนโครงสร้างพื้นฐานของการออกเสียง เมื่อเด็กๆออกเสียงติดๆขัดๆในการแยกเสียงโครงสร้างของเสียงหรือการออกเสียงของคำนั้นๆ พวกเขาจะสามารถเรียนรู้ได้เองเลยว่าพวกเขาสะกดคำผิด
หลายๆ คนคงลืมไปว่า การประยุกต์ใช้การสอนแบบนี้ เราไม่จำเป็นจะต้องใช้สิ่งของต่างๆ เพื่อประกอบการเรียนการสอนแม้แต่น้อย การฝึกให้มีประสิทธิภาพสามารถฝึกได้โดยการสอนการออกเสียง และสำหรับพ่อแม่ๆ คนไหนที่อยากพัฒนาลูกๆในเรื่องการสะกดคำสามารถที่จะทำได้ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ช็อปปิ้ง ขณะจัดเตรียมอาหาร เป็นต้น โดยการให้พ่อแม่พูดคำศัพท์ออกมาคำหนึ่งแล้วให้ลูกสะกดตามที่เขาได้ยิน ตัวอย่างเช่น
พ่อแม่ : ไหนลูกลองสะกดคำว่า “Sleep” ดูซิครับ/คะ
ลูก : “S – l – ee – p”
พ่อแม่ : คำว่า Sleep มีกี่เสียงครับ/คะ
ลูก : 5 เสียง
- การเขียนบรรยายหรือเขียนเป็นประโยค
เมื่อเด็กๆ มีโอกาสได้เรียนรู้คำใบ้หรือคำลวงแล้ว ซึ่งมันก็ไม่ใช้สิ่งที่ง่ายสำหรับพวกเขา การเขียนบรรยายภาพก็น่าจะ
เป็นขั้นตอนที่ดีที่สุดต่อไปสำหรับพวกเขาที่จะเรียนรู้กันต่อไป สิ่งที่สำคัญในการสอนให้พวกเขาเขียนบรรยายใต้ภาพก็ควรจะเป็นการที่พ่อแม่ครูบาอาจารย์ให้เขาได้อ่านคำบรรยายออกเสียงก่อน ในช่วงแรกๆ พ่อแม่อาจจะต้องช่วยลูกๆ ปรับเปลี่ยนรูปประโยคให้ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น เด็กๆ อาจจะเขียนว่า “The cat sit” แต่จงอย่าลืมว่า สิ่งที่เราสอนลูกๆ อยู่นั้น เราไม่ได้เน้นไวยากรณ์ แต่เป็นการเขียนบรรยายต่างหาก แต่ถ้าหากเด็กสามารถที่จะเขียน “The cat sits” ก็จะเป็นสิ่งที่ดีเยี่ยมสำหรับเด็กเลย
ในกระบวนการฝึกหัดนี้ ถ้าพ่อแม่หรือคุณครูจำเป็นจะต้องขัด และช่วยแก้คำผิด เช่น คำว่า sits เด็กอ่านถูกต้อง ว่า sits แต่ยังคงเขียนว่า sit นั้นหมายความว่าเขายังไม่สามารถจดจำเสียงและแยกเสียงได้อย่างถูกต้อง ในเรื่องนี้พ่อแม่หรือคุณครูจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องช่วยเหลือเขาให้มากขึ้น
ในระยะนี้สืบเนื่องมาจากหลักสูตรการผันคำ ในโปรแกรมนี้จะเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ของเด็กทั้งสิ้น จุดประสงค์ของโปรแกรมนี้คือเด็กสามารถที่จะเขียนคำใบ้หรือเขียนตามคำบอกได้แล้ว มีคำใบ้เยอะแยะมากมายในอินเตอร์เน็ตสำหรับพ่อแม่หรือท่านไหนที่สนใจก็สามารถเข้ามาดูได้ที่เว็บไซค์ของโรงเรียนเรา หรือจะเป็น www.twinkl.co.uk ก็ได้เช่นกันครับ
ข้างล้างนี้ก็จะเป็นองค์ประกอบของหลักสูตรการเขียน ที่ทุกโรงเรียนควรจะปฏิบัติตาม
วิธีการเขียน (Modelled Writing) – การเขียนไปพร้อมๆ กัน ( Shared Writing) – การเขียนไปด้วยกันพร้อมทั้งให้คำแนะนำ ( Guided Writing) – นักเรียนมีสามารถเขียนเองได้ ( Independent Writing)
วิธีการเขียน ( Modelled Writing )
วิธีการเขียนคือ อาจารย์จะบอกวิธีการเขียนให้กับเด็กๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้คำ การเขียนบรรยาย หรือการสร้างรูปประโยค ในขั้นตอนนี้ เด็กๆและครู ควรจะมีการพูดคุย ปรึกษาหารือกันเพื่อผลลับที่ดีที่สุด
การเขียนไปพร้อมๆ กัน ( Shared Writing )
อาจจะเริ่มได้จากการที่เราเล่าเรื่องสักเรื่องหนึ่งให้เด็กฟังและจากนั้นก็มาพูดคุยกันว่ามันเกิดอะไรขึ้นบ้างในเรื่องนี้ จากนั้นก็มาสรุปกันว่าจะต้องเขียนแบบไหน ผมเคยจดบันทึกไว้เกี่ยวกับสิ่งแรกที่เด็กๆ มาถึงโรงเรียนแล้วกรูกันเข้ามาบอกผม มันเป็นสิ่งที่ดีเยี่ยมมากสำหรับผู้ที่เป็นครู พ่อแม่ก็สามารถทำแบบนี้ได้นะที่บ้าน แล้วคุณจะรู้สึกดีมาก ผู้ปกครองของเด็กบางคนที่ BEYC ถึงกับมีไออารี่ของเขาเองเพื่อนเขียนเกี่ยวกับชีวิตประจำวันของลูกๆของเขาเลยทีเดียว
การเขียนไปด้วยกันพร้อมทั้งให้คำแนะนำ ( Guided Writing )
ในเรื่องการเขียนไปด้วยกันพร้อมทั้งให้คำแนะนำนี้จะจัดอยู่ในหลักสูตรการสอนที่โรงเรียนอยู่แล้ว ในโรงเรียนที่ใหญ่ๆหน่อยก็อาจจะต้องแบ่งกลุ่มนักเรียน แต่สำหรับ BEYC เราไม่ได้เป็นโรงเรียนที่ใหญ่นัก เราจึงสามารถที่จะเรียนรู้เป็นกลุ่มเดียวกันได้ จุดประสงค์ของการสอนแบบนี้คือการที่อาจารย์ผู้สอนสามารถที่จะสังเกตนักเรียน และจุดบกพร่องของแต่ละคน และสามารถที่จะนำมาพัฒนานักเรียนได้ตรงจุด
นักเรียนมีสามารถเขียนเองได้ ( Independent Writing)
มันจะเป็นสิ่งที่ดีมากที่เราจะมีกระดาษเปล่าๆสักแผ่นหนึ่งและปากกาสักด้ามไว้ในห้องเรียนเพื่อวิชาการเขียน แลสิ่งที่ดีเยี่ยมไปกว่านั้นคือการที่เราให้โอกาสแก่เด็กๆได้เขียนในสิ่งที่เขาอยากเขียน
วิชาการเขียนเป็นวิชาที่สนุก แต่เราก็ต้องอย่าลืมไปว่าเราต้องสอนให้มันสนุกด้วย ฟังสิ่งที่เด็กๆ พูด ให้ความสำคัญถึงสิ่งที่เขาชอบที่จะทำ ของเล่นอันไหนที่เขาเลือกที่จะใช้ หรือแม้หนังที่เขาดูล่าสุด เพราะคำตอบของคำถามเหล่านี้สามารถนำพาพวกเขาไปสู่โอกาสในการเขียนที่น่าตื่นเต้น มันจะมีอะไรสนุกไปกว่าการที่เราชักนำลูกๆ มาเขียนถึงโอกาสพิเศษๆ ที่จะตามมาล่ะครับ