วันนี้คุณรู้จักกรดโฟเลตดีหรือยัง (Folate Acid)

คุณรับประทานอาหารที่ประกอบไปด้วยโฟเลต (Folate) เพียงพอหรือยัง ต้องย้อนถามตัวเองกันหน่อยเสียแล้ว 

การรับประทานอาหารที่มีมีกรดโฟลิก (Folic Acid) อย่างเพียงพอขณะตั้งครรภ์เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง  มีการวิจัยออกมาว่าถ้าหากร่างกายขาดกรดโฟลิก เราจะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า เป็น 1 ใน 10 ผู้หญิงตั้งครรภ์จะประสบกับปัญหานี้ ถ้าหากว่าเราได้รับกรดโฟลิกในประมาณที่มากพอที่ร่างกายของเราต้องการก็จะเป็นสิ่งที่ดีเยี่ยม เพราะกรดโฟลิกเป็นกรดที่จำเป็นต่อร่างกายเพราะมันคือสารอาหารที่หายากและยังช่วยในการเสริมสร้างการทำงานของเลือดเรา และยังช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดขาวรวมไปถึงการป้องกันการโรคโลหิตจาง ส่วนมากแล้วคุณจะรู้จักกรดโฟลิกในนามของ วิตามิน B9 เพราะมันคือสิ่งเดียวกันค่ะ เป็นกรดที่สามารถป้องกันการมาเยือนของโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimers), มะเร็ง หรือแม้แต่ ความผิดปกติของทารกได้

กรดโฟเลตและกรดโฟลิกเป็นวิตามินที่คล้ายคลึงกัน แต่ไม่ใช่วิตามินเดียวกัน โฟเลต (Folate) คือ วิตามินที่สกัดมาจากวิตามิน B9 จะมีมากในอาหารสีเขียว เช่น พืชผักต่าง ส่วน กรดโฟลิก (Folic) คือ สารสังเคราะห์จากวิตามิน ซึ่งจะมีมากในอาหารเสริม

สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับครรภ์ของคุณคือการได้รับสารอาหารที่เต็มไปด้วยกรดโฟเลต ผักสีเขียวเข้มจะประกอบไปด้วยกรดโฟเลต (Folate) สูงอย่างผักขม และกะหล่ำ และช่วยในเรื่องของสมาธิได้ดีด้วยและก็พยายามกินอาหารหลายๆ ชนิดในแต่ละวันนะคะ หรือคุณสามารถเข้าไปปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของปริมาณการรับประทานอาหารของคุณแม่ที่กำลังอุ้มท้องก็ดีค่ะ

อาหารที่มีกรดโฟเลตสูง (จาก globalhealingcenter.com) แสดงให้เห็นถึงเปอร์เซ็นต์ของค่าสารอาหารแต่ละวัน (DV)

ผักใบเขียว (Dark Leafy Greens)

  • ผักขม – 1 ถ้วย = คุณค่าอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย (65%)
  • ผักคะน้า – 1 ถ้วย =               “          (44%)
  • หัวผักกาด – 1 ถ้วย =            “          (42%)
  • ผักกาดขาว – 1 ถ้วย =          “          (26%)
  • ผักกาด – 1 ถ้วย =                 “          (19%)
  • หน่อไม้ฝรั่ง – 1 ถ้วย =          “          (44%)
  • บล็อกโครี่ – 1 ถ้วย =             “          (24%)

ผลไม้รสเปรี้ยว

  • มะละกอ – 1 ลูก = คุณค่าอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย 29%
  • ส้ม – 1 ลูก      =                         “              10%
  • เกรปฟรุต – 1 ลูก   =                   “              8%
  • สตรอเบอรี่ – 1 ถ้วย      =            “              6.5%
  • ราสเบอรี่ – 1 ถ้วย     =                “              4%

พืชตระกูลถั่ว (Beans Peas and Lentils)

ถั่วเลนทิล — 1 ถ้วย =  คุณค่าอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย (90%)
ถั่วพินโท — 1 ถ้วย =                 “          (74%)
ถั่วกาบังโซ๋ — 1 ถ้วย =              “        (71%)
ถั่วดำ — 1 ถ้วย  =                     “          (64%)
ถั่วนาวี — 1 ถ้วย =                    “          (64%)
ถั่วแดง — 1 ถ้วย =                    “          (57%)
ถั่วลิม่า — 1 ถ้วย =                    “          (39%)
ถั่วปากอ่า — 1 ถ้วย =                “          (32%)
ถั่วลันเตา — 1 ถ้วย =                 “          (25%)
ถั่วเขียว — 1 ถ้วย =                   “          (10%)

อโวคาโด – 1 ถ้วย = คุณค่าอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย (22%)

กะหล่ำดาว – 1 ถ้วย = คุณค่าอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย (27%)

เมล็ดและถั่วต่างๆ (Seeds and Nuts)

เมล็ตทานตะวัน — ¼ ถ้วย = คุณค่าอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย (21%)
ถั่วลิสง — ¼ ถ้วย  =                 “          (22%)
เมล็ดลินิน — 2 tbs =                “          (14%)
อัลมอนด์ — 1 ถ้วย =                “          (12%)
ดอกกะหล่ำ – 1 ถ้วย =              “          (14%)
บีท – 1 ถ้วย =                           “          (34%)
ข้าวโพด – 1 ถ้วย =                   “          (20%)
ขึ้นฉ่าย – 1 ถ้วย =                     “          (8%)
แครอท – 1 ถ้วย =                     “          (5%)
น้ำเต้า – 1 ถ้วย  =                      “          (11%)