การตั้งครรภ์และโรคซึมเศร้า
การตั้งครรภ์และโรคซึมเศร้า
การตั้งท้องแน่นอนว่าเป็นช่วงเวลาที่น่ายินดีและน่าตื่นเต้นมากสำหรับหลายๆ คน แต่เราจะรู้ไหม ว่ามีบางคนที่ต้องเจ็บปวดกับการมีโรคซึมเศร้าเข้ามาเกี่ยวข้อง โรคซึมเศร้าที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์นี้เกิดขึ้นได้จากระดับฮอร์โมนที่เกี่ยวเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันในช่วงแรกของการตั้งครรภ์เหตุผลเหล่านี้สามารถนำไปสู่ระดับความวิตกกังวลที่สูงได้
ฉันต้องทำอย่างไรถ้าคิดว่ากำลังประสบกับโรคซึมเศร้าอยู่ ?
เป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งที่เราจะต้องได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล ทั้งสองโรคนี้สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของเราได้เช่นกันรวมไปถึงการเจ็บป่วยในอนาคต สำหรับผู้ที่ต้องประสบกับโรคซึมเศร้าและความวิตกกังวลนี้ ตัวคุณแม่เอง ลูกในท้อง รวมไปถึงปัญหาในกระบวนการคลอดบุตร สามารถเป็นไปในความยากลำบากได้ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าหลังคลอดที่สามารถยับยั้งคุณแม่จากการดูแลตัวเองและลูกน้อยไดอย่างดีที่สุด
สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ควรทำคือ การได้รับการรักษาโดยเร็วที่สุด มากไปกว่านั้นคือ โรคซึมเศร้าเรื้องรัง ผู้ที่ประสบกับโรคนี้ควรจะไปพบผู้ให้คำปรึกษาโดยเฉพาะ หลังจากได้พูดคุยกับคุณหมอเรียบร้อยแล้ว เพราะว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ปกติและไม่ได้เป็นที่น่าอายแต่อย่างได การรู้และยอมรับว่าคุณอาจจะต้องพบเจอกับโรคซึมเศร้าในขณะตั้งครรภ์ ได้เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน เพราะฉะนั้นหมายถึงว่าคุณรู้ว่าควรทำอย่างไร
ฉันจะประสบกับโรคซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์หรือเปล่า ?
เปอร์เซ็นที่ผู้ที่ตั้งครรภ์จะประสบกับโรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้าไม่ได้สูง แต่แน่นอนว่ามันสามารถเพิ่มขึ้นได้จากหลายๆ ปัจจัยด้วยกัน ดังนี้ค่ะ
- มีประวัติการเป็นโรคซึมเศร้าเคยเกิดขึ้นในครอบครัวหรือกับตัวเอง
- ใช้ชีวิตอย่างเคร่งเครียด
- ผ่านการเลี้ยงดูที่ตึงเครียด
- ความวิตกกังวลจากการแท้งลูก
- รู้เกี่ยวกับโรคแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์
- ตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ
ฉันจะรู้ได้ไงว่าฉันเป็นโรคซึมเศร้า
อาการที่เห็นได้ชัดของโรคซึมเศร้า คือ ความเหนื่อยล้าและการนอนไม่หลับ ทั้งสองอาการนี้มีผลมาจากความเศร้าและสิ้นหวัง คุณอาจจะรู้สึกว่าคุณไม่สามารถจัดการกับสิ่งต่างๆ ได้อย่างดีเท่าที่ควร และไม่มีกำลังใจที่จะออกกำลังกายหรือแม้แต่ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้อีกต่อไป ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรงมักจะมีความคิดด้านลบเกี่ยวกับตัวเองเสมอถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย
อาการเหล่านี้สารถเป็นสัญญาณบอกได้ว่าคุณซึมเศร้า
- ความรู้สึกเศร้า เสียใจ
- ความรู้สึกไร้ค่าและสิ้นหวัง
- มีปัญหาในการโฟกัส และ ไม่มีสมาธิ
- ทำผิดพลาดในเรื่องที่ไม่ควร บ่อยครั้ง
- เข้าใจผิด
- หงุดหงิดฉุนเฉียว และจิตใจไม่สงบ
- ร้องไห้โดยไม่มีเหตุผล
- นอนไม่หลับ
- เหนื่อยล้า
- ไม่อยากกินอาหาร
- อารมณ์ขึ้นๆลงๆ
โรควิตกกังวล อาการจะมีดังนี้
- หัวใจเต้นแรง
- รู้สึกอ่อนแรง
- เหงื่อออกเยอะ
- ขี้ตกใจ
จะรักษาอาการซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์ได้อย่างไร
โรคซึมเศร้าและวิตกกังวลสามารถรักษาได้โดยการเข้าพบผู้ให้คำปรึกษาหรือการใช้ยาต่อต้านอาการซึมเศร้า หรือ ยาที่ช่วยในการผ่อนคลาย วิธีที่ปลอดภัยในการรักษาโรคซึมเศร้าขณะตั้งครรภ์คือ การให้แพทย์ของคุณหรือนักจิตวิทยาบำบัดเป็นผู้ให้คำแนะนำคุณในการใช้ยา ถ้าหากว่าระดับความกังวลหรือความซึมเศร้าไม่ได้รุนแรงนัก คุณก็ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยยา เพราะการรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาสามารถเป็นการรักษาที่ได้ผลอย่างดีเยี่ยมได้เหมือนกัน เช่น
- การพักผ่อนอย่างเพียงพอ
- ใส่ใจตนเอง
- ทำกิจกรรมร่วมกันกับคนที่คุณรัก คนในครอบครัว เพื่อน
- ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ
- พูดคุย
- ซื่อสัตย์ต่อความรู้สึกของตนเอง
British Early Years Centre คือ สถานรับเลี้ยงเด็กนานาชาติ