ทฤษฎีพหุปัญญา คืออะไร ?

ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence Theory) แน่นอนว่าไม่ใช่สิ่งที่คุณคิดเป็นแน่!!

“ทฤษฎีพหุปัญญา” (Multiple Intelligence Theory หรือ MI) เป็นทฤษฎีของ ศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner, 1983) เสนอแนวคิดว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญไม่เท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหน ตัวอย่างเช่น ถ้าเด็กคนหนึ่งไม่มีความสามารถในการคิดคำนวณเลย เขาก็สามารถเก่งในวิชาอื่นก็ได้ อย่างเช่น ศิลปะ เป็นต้น ทฤษฎีของการ์ดเนอร์ไม่ได้บอกว่าเด็กคนนั้นจะเก่งแต่วิชานั้นวิชาเดียว แต่อาจจะมีความสามารถในหลายๆ ด้าน อย่างน้อยเขาก็จะมีหนึ่งหรือสองคุณสมบัติที่เด่นชัด มีโรงเรียนในกรุงเทพหลายแห่งมากที่ได้ใช้ “ทฤษฏีพหุปัญญา” ในการโฆษณาแผนการเรียนการสอนของเขา แต่การสอนจริงๆ มันก็ไม่ได้เป็นไปตามที่กล่าวไว้ในโฆษณาทั้งหมดหรอก เรามาดูการวิเคราะห์ข้างล่างนี้กันเลยดีกว่าค่ะ

ทฤษฎีพหุปัญญา(MI) ใช่ แนวคิดใหม่หรือเปล่า ?

มีการใช้ “ทฤษฎีพหุปัญญา”ประกอบแผนการเรียนการสอนมาเป็นเวลานานแล้ว รวมถึงโรงเรียนแห่งในประเทศอังกฤษได้มีการสอนตามแนวคิดนี้กันมาก่อน ศาสตราจารย์การ์ดเนอร์เองก็ได้พูดถึงความเข้าใจของเขากับการใช้ทฤษฎีนี้ รวมถึงหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่มีในเรื่องนี้ก็ไม่มากนัก(Guardian, 1995). ส่วน Klein, (1995) ได้กล่าวถึง กฎเกณฑ์ของทฤษฎีนี้ในเชิงลึกว่า

“ทฤษฎีพหุปัญญานี้ได้ขยายกฎเกณฑ์กี่ยวกับทฤษฎีความรู้ทั่วไป: มันจะกว้างเกินไปที่เราจะใช้ทฤษฎีนี้ในการปรับเปลี่ยนหลักสูตรการเรียนการสอน ถึงแม้ว่าทฤษฎีนี้สามารถแสดงให้เห็นถึงความสามารถของนักเรียนก็ตาม”

และกล่าวต่อว่า

“การวิจัยในเรื่องของความรู้และกลยุทธ์ที่นักเรียนแต่ละคนสามารถที่จะเรียนรู้จากการทำกิจกรรมนั้นๆ และวิธีการที่สอนอย่างนั้น อาจจะสามารถพิสูจน์ได้มีประสิทธิภาพกว่าในการปฏิบัติจริงในห้องเรียน”

ผู้ที่ประเมินเรื่องนี้

กฎเกณฑ์ที่สำคัญที่สุดของทฤษฎีพหุปัญญานี้ คือ ศาสตราจารย์การ์ดเนอร์ได้ตัดสินบนพื้นฐานของความมีสติปัญญาที่แตกต่างกัน แต่ก็ไม่มีการอ้างอิงทางวิทยาศาสตร์ที่อยู่เบื้องหลังหลักเกณฑ์การเลือกซึ่งอาจจะทำให้ให้นักวิจัยท่านอื่นสามารถออกมาโต้แย้งเกี่ยวกับทฤษฎีนี้ได้ ยกตัวอย่างเช่น การที่เด็กสักคนหนึ่งมีความสามารถที่ยอดเยี่ยมเกี่ยวกับตัวเลข ไม่ได้หมายถึงว่าเขาจะเก่งในเรื่องการหาสมการ หรือว่าการที่เด็กคนหนึ่งชอบการฟังเพลงก็ไม่ได้หมายถึงว่าเขาจะชอบการเล่นดนตรี ถ้าเด็กคนหนึ่งรักการระบายสีและสามารถระบายสีได้ดีมาก นั้นหมายถึงเด็กคนนั้นมีพรสวรรค์ในงานศิลปะ แล้วถ้าหากว่าเด็กคนเดียวกันนี้ไม่ชอบงานแกะสลัก และก็ไม่เก่งในเรื่องการวาดรูปด้วยล่ะ จะมีการอธิบายเรื่องอย่างไร? แล้วความฉลาดทางอารมณ์ (Humour intelligence) ความฉลาดในเรื่องความจำ (Memory intelligence) และอีกความฉลาดในเรื่องอื่นๆ อีกมากมายทำไมเขาถึงไม่พูดถึงล่ะ  เพราะหลังจากศาสตราจารย์การ์ดเนอร์ ได้ตีพิมพ์หนังสือของเขา เขาก็แค่พูดถึงพรสวรรค์ธรรมชาติของเด็กเท่านั้น

Klein (1997) ได้โต้แย้งถึง ปัญญาการตีโจทย์ไม่แตกของเขา

“ถ้าหากว่ามีใครสักคนถามว่า ‘ทำไมไมเคิลถึงเป็นนักเต้นที่เก่ง’ ทฤษฏีพหุปัญญาก็จะตอบคำถามนี้ว่า ‘เพราะว่าเขามีความสามารถในการจดจำการเคลื่อนไหวของร่างกายที่ดีเยี่ยม’ และเมื่อผู้ถาม ถามต่อว่า ‘อะไรคือความสามารถในการจดจำการเคลื่อนไหวของร่างกาย’ คำตอบก็จะออกมาประมาณว่า ‘มันคือความสามารถที่ใครสักคนหนึ่งสามารถจดจำความเคลื่อนไหวของร่างกายในท่าต่างๆ ได้ดี เพื่อถ่ายทอดสู่จุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างเชี่ยวชาญ’ ” (การ์ดเนอร์, 1983, หน้า 206)

จากนั้นเขาก็พูดต่อเกี่ยวกับวิธีการที่จะเติมเต็ม

“ความหมายของความสามารถในการจดจำความเคลื่อนไหวของร่างกาย คือความหมายของการเต้น ส่วนคำอธิบายคือ ไมเคิล คือ นักเต้นที่เก่ง เพราะว่าเขาคือนักเต้นที่เก่ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำอธิบายนี้มีข้อมูลน้อยกว่าคำถามเดิม ซึ่งอย่างน้อยได้บ่งบอกถึงกิจกรรมทางการด้านร่างกายที่ไมเคิลมีความสามารถ”

ทุกๆ คนสามารถเป็นคนที่ฉลาดได้

ทฤษฎีพหุปัญญาคือ แนวคิดที่ดีอย่างยิ่งที่สามารถโยงถึงแนวคิดที่ว่าทุกคนๆ สามารถเป็นคนที่ฉลาดได้และเด็กๆก็ฉลาดเท่าเทียมกัน ถ้าหากเราสามารถที่จะดึงเอาความสามารถที่ถนัดของแต่ละบุคคลออกมาใช้ได้ ทฤษฎีนี้เป็นทฤษฎีที่เรียบง่ายสำหรับการทำงานของสมอง แต่ความเป็นจริงของโลกใบนี้ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะเราทุกคนมียีนที่แตกต่างกัน

“มีการศึกษาเกี่ยวกับยีนของมนุษย์และการทำงาน รวมไปถึงพัฒนาการในเรื่องสติปัญญาของมนุษย์ ว่าไม่ประสบความสำเร็จ และจนถึงทุกวันนี้ เราก็ยังไม่สามารถหาความหมายของสติปัญญามนุษย์”

ทฤษฎีในเรื่องพหุปัญญา ของศาสตราจารย์การ์ดเนอร์ได้ถูกนำเสนอ แต่ความเป็นจริงแล้วเราหาได้ในยีนของเรา นี้ไม่ได้เป็นกรณีศึกษาที่ต่อต้านทฤษฎีพหุปัญญาแต่มันคือเรื่องจริง

ข้อยกเว้นและลักษณะสังคมนิยม                                

สิ่งที่เห็นได้ชัดในทฤษฎีพหุปัญญาคือ การสนับสนุนให้มีรู้จักการแยกแยะและลักษณะสังคมนิยม ในยุคที่สังคมการปกครองได้มีการต่อต้านการนำเอาหลักการเรียนการสอนตามทฤษฎีพหุปัญญามาใช้ คุณลองคิดสิว่าลูกของคุณทำสิ่งต่างๆ ได้ดีที่สุดตอนอายุเท่าไหร่  เหมือนเป็นฉากละครที่ว่าเด็กๆจะถูกปลูกฝังว่าเขาจะมีความสามารถในด้านใดมากที่สุด จากนั้นเขาก็ให้ความสำคัญแต่เรื่องนั้นและทำอย่างนั้นไปเรื่อยๆ เพื่อความอยู่รอดในสังคม  แต่ก็มีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบอีกมากมายเช่นกันในการเรียนการสอน ส่งที่เด็กชอบไม่จำเป็นจะต้องเป็นสิ่งที่เขาสามารถทำได้ดี คุณให้ความสำคัญที่จุดแข็งอย่างเดียวหรือคุณพยายามให้จุดอ่อนของคุณเด่นชัดด้วย หรือคุณจะแยกเด็กจากเพื่อนๆของเราและให้เขาเรียนอย่างเดียวเพื่อพัฒนาความฉลาดของเขา ถามตัวเองกันดูนะคะ

ทฤษฎีนี้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องด้วยหรือเปล่า

ไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยหรือไม่กับ”ทฤษฎีพยุปัญญา” ที่ได้มีการโต้เถียงกันด้วยวิธีที่ดีที่สุดในเรื่องการเรียนการสอนของเด็ก ทฤษฎีนี้ไม่ได้มีการพิสูจน์หรือมีหลักฐานใดๆอ้างอิงในเชิงวิทยาศาสตร์  ถ้าเป็นดิฉัน ถ้าหากดิฉันอยากให้ลูกรักการเขียน แต่ตัวเขาเองชอบไดโนเสาร์ ดิฉันก็จะให้เขาเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับไดโนเสาร์ การใช้ทฤษฎีพหุปัญญาของศาสตราจารย์การ์ดเนอร์ดูจะไม่ประสบความสำเร็จมาก เพราะสิ่งที่สำคัญว่า คือการที่โรงเรียนหรือครูผู้สอนเลือกและนำมาปรับใช้ได้เหมาะสม

สำหรับโรงเรียนที่ชอบโฆษณาการเรียนการสอนตาม “ทฤษฎีพหุปัญญา” มันหมายความว่าการสอนแบบนั้นไม่ได้มีการนำเอาความรู้ที่แท้จริงมาสอน หรือครูผู้สอนเหล่านั้นไม่ได้รับการฝึกฝนที่ดีให้เข้ากับหลักการเรียนการสอนในปัจจุบัน การที่เราบอกให้ครูผู้สอน สอนเฉพาะสิ่งที่เด็กคนนั้นมีความสามารถอยู่แล้ว ก็เหมือนกับการบอกมนุษย์ว่าอากาศคือสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต