เราควรจะทำยังไงดีกับการอดนอนของเด็กๆ

คุณประสบปัญหาการปลุกลูกๆให้ตื่นนอนในตอนเช้าอยู่หรือไม่ พวกเขามีอาการสมาธิสั้นระหว่างวันหรือไม่สามารถจดจ่ออยู่กับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งได้รึเปล่า มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้นหรือมีพฤติกรรมที่ดื้อและไม่เชื่อฟังเกิดขึ้นรึเปล่า คุณอาจจะคิดไปได้ว่าอาการเหล่านี้ จริงๆแล้วเป็นลักษณะปกติที่เกิดจากการอดนอนของเด็กๆ และโรคอ้วนเองก็ถูกโยงว่าเป็นผลมาจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอของเด็กๆ เช่นกัน  แล้วอย่างนี้เด็กจะต้องมีปริมาณการนอนเท่าไหร่ถึงจะถูกต้อง เมื่อลูกตื่นนอนนั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอแล้วหรอกหรอ  โดยทั่วไปแล้วเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 4 ถึง 5 ขวบขึ้นไปควรจะนอนประมาณ 13 ชั่วโมงต่อวัน และแน่นอนว่าเด็กที่อายุน้อยกว่านั้นควรจะได้นอนกลางวันประมาณ 2 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งนั่นจะทำให้พวกเขาต้องการการพักผ่อนที่น้อยลงในช่วงเวลากลางคืน นี่เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่คุณควรจะรู้เกี่ยวกับข้อจำกัดช่วงเวลาการตื่นและการนอนของลูกของคุณ  เด็กๆหลายคนมักจะไม่ยอมนอน ถ้าหากพวกเขาไม่ได้ถูกกล่อมให้นอนในช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุด  พวกเขาอาจจะดูตื่นตัวและมีความสุขดีแต่นี่แหละเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ว่าจะนำไปสู่การไม่ยอมเชื่อฟังและมีพฤติกรรมที่ดื้อรั้นเกรี้ยวกราดในที่สุด  ดังนั้นเทคนิคก็คือการทำให้ลูกของคุณนอนหลับในช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดแต่นี่ก็เป็นสิ่งที่พ่อแม่หลายๆ คนจะบอกคุณว่าพูดนั้นง่ายกว่าทำได้  ช่วงเวลาการนอนจะต้องไม่มีความหมายแฝงในแง่ลบกับเด็กๆในวัยหัดเดิน  มันจำเป็นจะต้องเป็นสิ่งที่พวกเขารู้สึกสนุกและสบายใจที่จะทำ  นี่เป็นสิ่งที่จะต้องมีการเตรียมความพร้อมอย่างมากและความสม่ำเสมอโดยอาศัยสภาวะแวดล้อมในการนอนและกิจวัตรประจำวันเป็นตัวช่วยซึ่งนี่ถือว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายมากแต่คุณก็ควรจะสนุกไปกับมันโดยหาหนทางที่สร้างสรรค์ที่คุณจะสามารถโน้มน้าวลูกของคุณให้เข้านอนในเวลาที่เหมาะสมได้

สภาพแวดล้อมที่พิเศษ

สภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นแค่ในช่วงเวลานอนคือหนทางที่ดีที่สุดหนทางหนึ่งที่สามารถโน้มน้าวเด็กในวัยหัดเดินที่กำลังเล่นอยู่นั้นให้หันเข้ามาสู่โหมดการนอนได้โดยไม่เกิดการต่อต้านแต่อย่างใด  ช่วงเวลานอนจะไม่แย่งเวลาเล่นของพวกเขาไปทั้งหมดแต่การปรับเปลี่ยนจะทำให้อะไรๆง่ายขึ้นและลดความกดดันลงไปได้เป็นอย่างมาก  เพื่อนของผมคนนึงแปะสติ๊กเกอร์ดวงดาวเรืองแสงไว้เหนือเตียงนอนของลูกของเขา และเขายังเปิดเพลงกล่อมเด็กที่ฉายภาพประกอบบนผนังด้วย  ซึ่งสภาพแวดล้อมแบบนี้จะเกิดขึ้นแค่ในช่วงเวลานี้ของวันเท่านั้นเพื่อเป็นตัวกระตุ้นให้ลูกของเขาเข้านอน  และนี่ไม่ใช่การกระตุ้นที่มากจนเกินไปซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ  ตัวกระตุ้นใดๆที่เด็กๆเอื้อมไม่ถึงหรือแตะต้องไม่ได้อย่างที่กล่าวไปนั้นเป็นตัวช่วยได้อย่างดีเลย  การผสมผสานระหว่างไฟสลัวๆกับเพลงบรรเลงนั้นดูเหมือนจะเป็นอะไรที่ได้ผลเป็นอย่างดี  เมื่อลูกน้อยนอนอยู่บนเตียงก็จะได้ยินเสียงเพลงที่โปรดปรานบรรเลงขึ้นและเสียงเล่าเรื่องคอยขับกล่อมเป็นกิจวัตรประจำวัน  ซึ่งเพื่อนของผมบอกว่านี่เป็นสิ่งที่เขามักจะทำให้ลูกของเขาอยู่เป็นประจำแต่ก็ไม่ใช่จะได้ผลทุกครั้งเสมอไป บททดสอบและข้อผิดพลาดคือสิ่งที่สำคัญที่สุดและความมุ่งมั่นคือกุญแจหลักที่คุณจะหาหนทางที่ได้ผลกับลูกของคุณในที่สุด

การแบ่งเวลาทีละนิด

เมื่อลูกของคุณเริ่มที่จะเข้านอนด้วยตัวเองได้แล้ว  คุณก็ค่อยๆลดเวลาที่จะใช้อยู่กับเขาในห้องของเขาลงทีละนิด  ยิ่งคุณทำแบบนี้ได้เร็วเท่าไหร่มันก็จะช่วยให้ลูกของคุณเข้านอนด้วยตัวเองได้เร็วเท่านั้น  แน่นอนว่าเสียงเพลงและนิทานที่ขับกล่อมนั้นดีมากสำหรับลูกน้อยที่เขาจะได้รับการพัฒนาทักษะทางด้านภาษาและการฟัง อีกทั้งยังเป็นตัวกระตุ้นที่ดีอีกด้วย แต่คุณจะต้องจัดสรรเวลาให้ดีสำหรับกระบวนการที่จะพาลูกเข้านอนด้วย  การจะเริ่มทำสิ่งเหล่านี้อาจจะต้องใช้เวลาเป็นอาทิตย์หรืออาจจะเป็นเดือนกว่าที่จะทำให้ลูกของคุณนั้นปรับตัวทีละนิดจนสามารถเข้านอนได้ด้วยตัวเองโดยที่คุณไม่จำเป็นต้องใช้เวลาอยู่ในห้องของเขาเป็นเวลานานๆ  อย่างเช่นจากที่เคยใช้เวลาประมาณ 10-15นาที สามารถที่จะลดลงมาเหลือเพียงแค่ 5-10นาทีได้  แต่ก็ขึ้นอยู่กับกิจวัตรประจำวันโดยทั่วไปของคุณด้วย  เด็กเล็กๆเองก็อาจจะตื่นขึ้นมากลางครันในตอนกลางคืน  การที่ลูกสามารถนอนหลับทั้งคืนได้นั้นไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นแบบนั้นเสมอไป  แต่คุณก็ควรจะมีความสุขไปกับช่วงเวลานี้นะ  แต่ถ้าเกิดลูกของคุณตื่นขึ้นมาร้องไห้ในตอนดึก  คุณก็ควรที่จะวางแผนล่วงหน้าไว้ด้วยสำหรับการใช้เวลาที่จะส่งลูกกลับเข้านอนอีกครั้ง  คุณจะต้องกล่อมเขาให้เข้านอนถ้าหากเขาเกิดตื่นขึ้นมาจากฝันร้ายในกลางดึก  แต่ถ้าเขาเกิดตื่นขึ้นมาเพื่ออยากจะเล่นนั้น  คุณก็ควรที่จะเข้มงวดกับเขาโดยปล่อยให้เขาเล่นได้แค่ไม่กี่นาที  คุณต้องบอกกับเขาไปตรงๆว่าเขาจะต้องนอนหลับพร้อมกับบอกเหตุผลให้เขารู้ด้วย  คุณต้องจำไว้ว่าคุณจะต้องควบคุมทุกอย่างให้เป็นระบบ

สิ่งล่อใจ

เทคนิคการล่อใจก็ได้ผลค่อนข้างดีในบางครั้ง  โดยการเสนอทางเลือกเกี่ยวกับชุดนอน, ตุ๊กตาหมี, นิทาน, เพลง และอื่นๆอีกมากมาย  ซึ่งนี่เป็นสิ่งช่วยป้องกันความกดดันและบรรเทาลูกของคุณให้เข้าสู่การเปลี่ยนแปลงได้

คำชมและรางวัล

สำหรับเด็กโตขึ้นมาหน่อย การให้รางวัลซักเล็กน้อยนั้นก็จะสามารถช่วยในขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงได้ด้วย  ชมลูกของคุณและบอกเขาว่าคุณชื่นชมยินดีในตัวเขา พร้อมทั้งให้สติ๊กเกอร์ติดผนังเป็นรางวัลแก่เขา และอาจจะเป็นการใช้เวลาทำกิจกรรมที่เขาเลือกอยู่กับเขาให้มากขึ้น หรืออะไรก็ตามที่ได้ผลกับคุณและลูกของคุณ  แต่อย่าลืมว่าความสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่สำคัญ  หากไม่ทำเช่นนั้นคุณอาจจะเสียการควบคุมได้  คุณคงไม่อยากให้เกิดสถานการณ์ที่คุณจะต้องติดสินบนกับเขา

อยู่ในการควบคุม

การทำตามไอเดียและข้อแนะนำเหล่านี้อาจจะไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงง่ายๆกับคุณ  ลูกของคุณอาจจะเกิดการต่อต้านในกิจวัตรประจำวันและกลายเป็นสิ่งที่ค่อนข้างเหนื่อยสำหรับคุณและคนรัก  แต่ถ้าหากคุณไม่ย่อท้อและทำอย่างสม่ำเสมอพร้อมทั้งมีความเข้มงวดและอธิบายเหตุผลอย่างใจเย็น  คุณจะสามารถฟันผ่าขั้นตอนต่างๆและประสบความสำเร็จในที่สุด