วิเคราะห์การนอนของลูก/ลูกนอนเยอะไปหรือน้อยไป

ที่จริงแล้วลูกของเราได้นอนหลับเพียงพอหรือเปล่านะ ?

เป็นเรื่องที่พ่อแม่ทุกคนยืนยันเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า เด็กๆ และการนอนไม่ใช้เรื่องคู่กัน แทบจะกลายเป็นเรื่องที่ปกติไปแล้วที่พ่อแม่ต้องตื่นขึ้นมาเดินกับลูกน้อยยามที่พวกเขานอนไม่หลับพ่อแม่เองก็ไม่ได้หลับ

อาการคันเหงือก และปวดฉี่ คือสิ่งที่ทำให้ลูกต้องตื่นขึ้นมาตอนดึกๆ ดื่นๆ และพ่อแม่ก็ต้องตื่น

มีงานวิจัยงานหนึ่งจัดทำโดย Dr. Frans Plooij ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการของเด็กและการสื่อสารระหว่างพ่อแม่และลูก พิสูจน์ได้ว่าทารกจะนอนหลับน้อยขณะที่พวกเขาอยู่ในช่วงที่กำลังเข้าสู่อายุครบ 20 เดือน เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับทารกทุกๆคนที่จะต้องประสบการกับปัญหาการนอนในช่วงอายุนี้ค่ะ

 ทารกต้องนอนเป็นเวลาเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอ

อ้างอิงจาก WebMD article ช่วงเวลาแห่งการนอนหลับที่ลูกๆ ต้องการ ในแต่ละอายุและบุคลิกกาภาพ

เราวิเคราะห์กันดีกว่าค่ะว่าลูกของเรานอนหลับเพียงพอกันหรือเปล่า:

  • ทารกในท้อง ควรได้พักผ่อน 23-24 ชั่วโมง
  • อายุ 1-4 สัปดาห์ ควรได้พักผ่อน 15-16 ชั่วโมง/วัน เด็กทารกไม่สามารถนอนเหมือนเด็กโตได้ ที่สามารถนอนเป็นกิจวัตรในตอนกลางวันและกลางคืน
  • อายุ 1-4 เดือน ควรได้พักผ่อน 14-15 ชั่วโมง/วัน โดยเฉลี่ยแล้ว เด็กที่อายุ 6 อาทิตย์จะสามารถเริ่มพัฒนาการนอนหลับแบบเป็นกิจวัตรได้แล้ว เพราะพวกเขาสามารถแยกแยะได้แล้วว่าตอนไหนตอนกลางวันตอนไหนตอนกลางคืน
  • อายุ 4-12 เดือน ควรได้พักผ่อน 14-15 ชั่วโมง/วัน 15 ชั่วโมงต่อวัน ถือว่าเป็นระยะเวลาการนอนที่เพียงพอ ทารกส่วนใหญ่เมื่ออายุครบ 11 เดือนก็เริ่มที่จะนอนได้แค่ 12 ชั่วโมงต่อวัน
  • อายุ 1-3 ขวบ ควรได้พักผ่อน 12-14 ชั่วโมงต่อวัน

สเกลข้างบนนี้คือ ค่าเฉลี่ยาของเด็กส่วนมากเท่านั้น  เด็กๆ ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกคน การนอนของพวกเขาก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน  ระยะเวลาที่สมองและระบบประสาทของเด็กๆ จำเป็นต้องมีการพักผ่อนขึ้นอยู่กับสุขภาพทางด้านร่างกายของพวกเขาด้วย การให้ลูกๆ ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับพัฒนาการการเรียนรู้ของพวกเขาด้วย

พัฒนาการทางด้านอารมณ์ของลูกๆ มีผลกระทบต่อการนอนของเขาหรือไม่

โลกของลูกๆ ของคุณจะเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิงเมื่อเขาได้ก้าวผ่านช่วงเวลาแห่งการนอนนี้ (Leap) เด็กๆ ทุกคนจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันไป บางคนเริ่มจะหงุดหงิดเกี่ยวกับพฤติกรรมการนอนของพวกเขา พ่อแม่บางคนถึงกับตกใจที่ลูกแทบจะไม่นอนเลยก็มี ขณะที่บางคนก็นอนหลับเยอะกว่าปกติ บางคนก็เริ่มจะหลับตอนกลางวันเยอะกว่าและนอนน้อยในช่วงกลางคืน  พ่อแม่ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะคะ เพราะการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้คือพัฒนาการหนึ่งที่จะเกิดขึ้นกับเด็กทุกคน เมื่อเด็กๆ ผ่านช่วงนี้ไปแล้ว เขาก็สามารถนอนหลับได้ดีขึ้นแล้วค่ะ

เด็กๆ บางคนจะมีวิธีการเรียนรู้ของเขาเอง  บางครั้งพวกเขาจะไม่นอนจนกระทั้ง พวกเขาได้ทำในสิ่งที่พวกเขากำลังอยู่ให้เสร็จเสียก่อน พ่อแม่อาจจะชักจูงเขาให้ทำอย่างอื่น เช่นอ่านหนังสือ เพื่อกล่อมให้เขาได้พักผ่อน

Source: BellyBelly.com.au

Visit us: www.beyc.co.th