กลยุทธ์การสอนแบบเรกจิโอ เอมิเลีย (Reggio Emilia Approach)/ปรัญชาการสอนที่โรงเรียนของเราเลือกปฏิบัติ

[vc_row][vc_column][vc_column_text] 

 

กลยุทธ์การสอนแบบเรกจิโอ เอมิเลีย Reggio Emilia พัฒนามาจากชื่อของเมืองเรกจิโอ เอมิเลีย Reggio Emilia เป็นชื่อเมืองที่ตั้งอยู่ในเอมิเลีย โรมัญญา (Emilia Romagna) ในตอนเหนือของประเทศอิตาลี ในช่วงหนึ่งหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2  Loris Malaguzzi  คืออาจารย์หนุ่มรูปงามผู้ค้นพบเทคนิคนี้  และได้ร่วมมือกับผู้ปกครองในบริเวณนั้นเพื่อสนับสนุนเกี่ยวกับการดูแลเด็กเล็ก โดยมีแรงบันดาลใจจากผู้หญิงที่ถูกใช้แรงงาน จากนั้นมา เทคนิคในการสอนนี้ได้ถูกพัฒนามาเป็นเวลา 50 ปี เพื่อเป็นโปรแกรมการสอนที่พิเศษกว่าโปรแกรมอื่นและเป็นโปรแกรมที่ครูผู้สอนเด็กเล็กทั่วโลกจับตามอง

สิ่งที่เราจะได้จากระบบการศึกษาเชิงผสมนี้ คือความน่าตื่นเต้นและความท้าท้าย หรือที่เรียกว่า Complex System ทำให้ครูผู้สอนอย่างพวกเราเห็นถึงความเป็นไปได้ของสิ่งต่างๆ ถ้าหากว่าเราเต็มใจที่จะเสี่ยงและไม่ยึดติดกับประเพณีดั้งเดิม

Reggio Emilia Approach คือ ระบบการศึกษาเชิงผสม (Complex System ) ได้เป็นที่ยอมรับและมีการปรับใช้ในหลายๆ มุมมองพื้นฐานในงานของ Dewey, Piaget, Vygotsky รวมถึงนักปรัชญาคนอื่นๆ อีกมากมาย ระบบการศึกษาเชิงผสมได้ประกอบไปด้วย กฏของการประสานงานร่วมกันระหว่างนักเรียน ครู และผู้ปกครอง รวมไปถึงโครงสร้างร่วมของความรู้ (Co-construction of Knowledge) ที่ประกอบไปด้วย การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันของแต่ละคน และการเรียนรู้การอยู่ร่วมกันในสังคม ที่เกี่ยวข้องกับกฎของวัฒนธรรมในการเข้าใจการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน (Baji Rankin, 2004)

หัวใจหลักของระบบนี้คือภาพลักษณ์อันทรงพลังของเด็ก  ครูผู้สอนที่ยึดหลักการสอบแบบ Reggio Emilia จะไม่มองเด็กๆ เสมือนภาชนะที่ว่างเปล่าที่รอการเติมเต็มด้วยความจริงทั้งหลาย แต่พวกเขาจะมองเด็กๆ ดั่งผู้ที่เปี่ยมไปด้วยศักยภาพและความสามารถที่สามารถสร้างทฤษฎีขึ้นมาได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง  ตามที่ Loris Malaguzzi ได้บัญญัติไว้เกี่ยวกับสิทธิของเด็กคือ เด็กถูกมองอย่างไร

เด็กทุกคนมีสิทธิมีเสียงเหมือนคนอื่นๆ ทุกคนเป็นพลเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีสิทธิในสังคม ทั้งสองอย่างนั้นคือตัวสร้างประสบการณ์ของเขา ดังนั้นการได้มีส่วนร่วมในองค์กรของความมีสิทธิส่วนบุคคลของเขา ความสามารถ และการปกครองตนเอง สู่ความสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มเพื่อนๆนักเรียน ผู้ใหญ่ ความคิด และสิ่งของต่างๆ ของเขา รวมถึงเหตุการณ์จริงและจินตนาการในโลกแห่งการเชื่อมความสัมพันธ์กัน  ทั้งหมดนี้คือรากฐานของการสร้าง “พลเมืองที่ดีขึ้นของโลก” และพัฒนาคุณภาพของการสื่อสารทั้งเป็นกลุ่มและระหว่างบุคคล กับศักยภาพและความสามารถที่เปี่ยมล้น ความแข็งแรงและความคิดสร้างสรรค์ของพวกเขา เป็นความเจ็บปวดและแร้นแค้นที่ไม่สามารถเอาคืนกลับมาได้ของเด็กคนหนึ่งถ้าหากความจริงเหล่านี้ไม่เป็นที่ยอมรับ

เริ่มจากจุดเริ่มแรกที่สำคัญ คือ การให้เด็กได้ใช้สิทธิในการได้แสดงออกถึงความสามารถของเขา ความสามารถการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้รับความรักและความเชื่อใจ และรับความความพึงพอใจในความต้องการที่จะเรียนรู้ สิ่งที่ทุกคนควรจะตระหนักถึงให้มากกว่านี้คือการได้รับความรู้สึกความปลอดภัยจากความใกล้ชิดกันระหว่างผู้ปกครองหรือผู้ใหญ่ที่โตกว่า และเป็นผู้ที่พร้อมจะช่วยเหลือเด็กทุกเมื่อ และให้ความสำคัญในการค้นหากลยุทธ์อย่างสร้างสรรค์เกี่ยวกับความคิดและการกระทำของเขามากกว่าการถ่ายทอดความรู้และความสามารถ กลยุทธ์ที่สร้างสรรค์มีส่วนทำให้การพัฒนาความฉลาดในด้านการสร้างสรรค์  มีอิสระในการนึกคิด การเคารพในสิทธิของเด็ก คือสัญญาณ ความเป็นมนุษย์ที่ประสบความสำเร็จ

แผนงาน คือองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งสำหรับกลยุทธ์การสอนแบบเรกจิโอ เอมิเลีย แต่ก็มีอะไรเยอะแยะกว่านี้ในระบบการศึกษาเชิงผสม แต่ละวัน ครูทุกคนจะเป็นเสมือนตัวอย่างของเด็กๆทุกคน ฉะนั้นเราควรให้ความสนใจเขาทุกๆ รายละเอียด เหมือนดั่งคำกล่าวของ Amelia Gambetti, Reggio Children – “the ants instead of always waiting for the elephants.”

 

หลักพื้นฐานของกลยุทธ์การสอนแบบเรกจิโอ เอมิเลีย (Fundamentals  Reggio Emilia Approach)

การศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของความสัมพันธ์

ตามทฤษฎีของ Reggio การเชื่อมโยงในการติดต่อสัมพันธ์จะดำรงอยู่ได้ระว่างเด็ก พ่อแม่ และครูผู้สอน  ทั้ง 3 ตัวเอกที่สำคัญนี้อยู่ด้วยกันจะมีพลังมหาศาลที่สามารถสร้างความร่วมมือ การประสานงาน และโครงสร้างร่วมของความรู้ เมื่อความสามารถเหล่านี้ทำงานเข้าด้วยกัน การมีปฎิสัมพันธ์ร่วมกันจะนำไปสู่จุดประสงค์เดียวกัน การสร้างวัฒนธรรมและให้เวลาเด็กได้มีเวลาเรียนรู้ไปพร้อมกัน สร้างสรรค์ และมีความสุขในการเรียนรู้ไปด้วยกัน แต่ละตัวเอกของทั้ง 3 องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับโรงเรียนทั้งสิ้น

Lori Malaguzzi ให้คำจำกัดความถึงสิทธิของพ่อแม่หรือผู้ปกครองว่า มันคือสิทธิของผู้ปกครองที่มีส่วนร่วมโดยตรงและปฏิบัติตามด้วยความสมัครใจเกี่ยวกับองค์ประกอบที่สำคัญในการเจริญเติบโต การดูแล และพัฒนาการที่ก้าวหน้าของเด็กผู้ที่ได้รับการไว้วางใจเพื่อเข้าสู่สาธารณะ นั้นหมายความว่าจะไม่มีมอบงานหรือโยนงานให้คนอื่นทำแทน แต่จะมีการยืนยันถึงความสำคัญของการแสดงออกถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของพ่อแม่ อย่างแรกเลย ว่ามีโรงเรียนซึ่งเป็นสถานที่ที่สร้างความแข็งแรงและความพยายามร่วมกันระหว่างพ่อแม่ในการร่วมมือเพื่อความปลอดภัยของเด็ก พ่อแม่ที่มีส่วนร่วมในการติดต่อสื่อสารสามารถนำไปสู่ความรู้ในการตอบแทน เช่นเดียวกับการได้รับประสิทธิภาพที่ดีกว่าในการแลกเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนที่แตกต่างกันไปหาแบบที่ดีที่สุดและมีคุณค่าสูงสุด (Loris Malaguzzi, Reggio Emilia, 1993)

ครูในบัญญัติของ Reggio Emilia  

ครูที่ยึดหนักการสอนแบบทฤษฎีของ Reggio Emilia จะมีความเป็นพิเศษ เพราะว่าครูเหล่านั้นจะสละตัวเองให้กับกระบวนการของโครงสร้างร่วมของความรู้ และการปล่อยวางประเพณีเดิมๆของความเป็นครูและเปิดประสู่ความเป็นไปได้ พวกเขาจะใช้ทฤษฎีของเด็กนักเรียนของเขา ช่วยทำให้ความไม่สมดุลดีขึ้น และช่วยส่งเสริมเด็กๆ เกี่ยวกับความคิดที่จะทำให้การเรียนรู้ใหม่ๆ ง่ายขึ้น (Seong Bock Hong, 1998)

ครูเหล่านี้จะเป็นผู้สังเกตการณ์ที่มีความมุ่งมั่น และผู้ให้โอกาสเด็กๆได้เรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ :

  • สอนให้เด็กตั้งคำถามและสร้างสมมุติฐานวิธีหาคำตอบเอง
  • ค้นหาและสร้างความเป็นไปได้ ทั้งการปฏิญาณตนและความขัดแย้ง พวกเขาให้โอกาสเด็กๆ ได้หาวิธีการจัดการกับความขัดแย้ง มีการปรึกษาหารือและโต้วาทีกัน
  • ใช้สัญลักษณ์ในการสื่อสารความคิดและตั้งข้อสันนิฐาน
  • ติดต่อพูดคุยกับผู้อื่นเกี่ยวกับความคิดใหม่ๆ
  • ให้เด็กๆ ได้เรียนรู้และเข้าใจ แนวคิด ไอเดีย การคิดและทฤษฏี ที่เคยเรียนมาแล้ว โดยการสร้างผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน

ไม่สงสัยเลยค่ะว่าทำไมนักเรรียนที่โรงเรียนของเราถึงได้มีความสุขกับการเรียนรู้ขนาดนี้ เพราะว่าโรงเรียนของเรา ใช้ระบบการสอนตามหลัก Reggio Emilia Approach นี้เอง

Visit us: www.beyc.co.th

 [/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]